Powered By Blogger

วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประสบการณ์การศึกษาดูงาน


การศึกษาดูงาน ณ จังหวัดราชบุรี จังหวัดสมุทรสงคราม เม่อวันที่ 26 มกราคม 2554 - 28 มกราคม 2554

วันพฤหัสบดีที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2553

การพัฒนาสภาพแวดล้อมในโรงเรียน




โรงเรียนรวมไทยพัฒนา 5 เป็นโรงเรียนท่ก่อตั้งเมื่อปี 2535รวมเวลา ถึงขณะนี้ 20 ปี ยังต้องปรับปรุงสภาพแวดล้อม อาคารสถานท่อีกมากเพ่อความพร้อมในการจัดการศึกษาเพื่ออนาคต ของชาติ จึงขอเชิญชวนผู้ที่มีทุนทรัพย์และมีจิตใจรักเอื้ออาทรเด็กร่วมกันพัฒนา โดยติดต่อมาได้ท่ 0857276597

วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2553

การรับโล่หนึ่งโรงเรียนหนึ่งนวัตกรรม


เม่อวันที่ 16 มกราคม 2553 วันครูข้าพเจ้าพร้อมด้วย นายกฤษณะ นวลตา ได้เดินทางไปรับโล่รางวัล หนึ่งโรงเรียนหนึ่งนวัตกรรม ท่หอประชุมคุรุสภา ซึ่งครงกับวันครู

วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553

ดูงานประเทศลาว


การดูงาน ณประเทศลาวเมื่อวันที่ 23-24 ธันวาคม 2552

เมื่ออาตมาไปเที่ยวลาว

การเดินทางดูงาน ณประเทศลาว

คู่มือครูประจำชั้น

โดย

ผู้อำนวยการโรงเรียนรวมไทยพัฒนา ๕
บ้านผ่านศึกพัฒนา ตำบลวาเล่ย์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต ๒

คำนำ

การจัดทำคู่มือครูประจำชั้น / ครูที่ปรึกษา เล่มนี้ขึ้นเพื่อใช้เป็นคู่มือในการปฏิบัติหน้าที่ ในฐานะเป็นครูประจำชั้นช่วงชั้นที่ ๑-๒ และครูที่ปรึกษาในระดับช่วงชั้นที่ ๓,๔ มีคุณครูเป็นจำนวนมากที่ขาดคู่มือในการทำงาน ใช้วิธีการที่คุ้นเคยในอดีตบ้าง

สารบัญ

เรื่อง หน้า
๑. บทนำ
๒. ความหมายของครูประจำชั้น /ครูที่ปรึกษา

บทนำ โรงเรียนคาดหวังอะไรจากครูประจำชั้น


ระบบการให้การศึกษาของไทย หรือประเทศอื่นก็ตาม เราแบ่งนักเรียนออกเป็นชั้นๆ เป็นห้องๆ เพื่อความสะดวกต่อการเรียนการสอน และการดูแลปกครอง รวมทั้งทำกิจกรรมอื่นๆ ด้วยภาษาอังกฤษเรียกตรงๆ ว่า Classroom และเรียกเพื่อนร่วมชั้นเรียนเดียวกันว่า Classmate ซึ่งก็ได้ความหมายตรงกับความรู้สึกไทยๆทุกประการ
ชั้นเรียนเป็นระบบดูแลการปกครอง หรือหน่วยเล็กที่สุดในระบบโรงเรียน การบริหารโรงเรียนหรือองค์กรใดๆ ก็ตาม ระบบเล็กๆ นั้นมีความสำคัญมาก เพราะโรงเรียนย่อมประกอบขึ้นด้วยระบบเล็กๆจำนวนมาก โรงเรียนจะดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับระบบเล็กๆ เหล่านี้ โรงเรียนจะดีไปไม่ได้ ถ้าระบบเล็กๆ ไม่ดี ดั้งนั้น “ครูประจำชั้น” ซึ่งเป็นผู้ดูแลจัดการและบริหารหน่วยชั้นเรียน ย่อมมีความสำคัญมากต่อระบบโรงเรียนเป็นส่วนร่วม
หน้าที่ของโรงเรียนที่แท้จริงนั้นคือ การพัฒนาเยาวชนหรือพัฒนาคน คือทำให้เขามีความรู้ในทฤษฎีทั้งวิชาสามัญและวิชาชีพ ให้เขาได้ฝึกงานอาชีพที่เขาถนัด ให้เขาได้พัฒนาทักษะในวิชาหรือกิจกรรมที่เขาถนัดและความสนใจ ให้เขาได้มีคุณธรรม เข้าใจและทราบซึ้งในหลักธรรมของศาสนา มีนิสัยที่ดีงาม มีค่านิยมที่เหมาะสม และให้เขาได้พัฒนาบุคลิกภาพ มีสุขภาพแข็งแรงปราศจากโรคภัยและมีนิสัยที่ดี
เมื่อถามว่าโรงเรียนคาดหวังอะไรจากครูประจำชั้น คำตอบคือก็คือ คาดหวังให้ครูประจำชั้นช่วยพัฒนาเยาวชนกลุ่มหนึ่งจำนวน 30-45 คน ให้เป็นไปตามเป้าหมายคุณภาพที่ต้องการ ให้ดีที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนานิสัยและคุณธรรม

เกณฑ์มาตรฐานของชั้นเรียน

1. ลักษณะทางกายภาพ
1.1 สภาพห้องที่ดี ได้แก่ประตู หน้าต่าง ฝาผนัง มีสภาพดีแข็งแรง ไม่ชำรุด
1.2 กระดานพร้อมบอร์ด (ถ้ามี ) มีสภาพดี
1.3 โต๊ะ เก้าอี้ เป็นแบบด้วยกัน มีสภาพที่แข็งแรงมั่นคง
1.4 โต๊ะครู เป็นโต๊ะพิเศษ 1 ตัว หน้าห้อง ควรมีผ้าปูและมีการจัดตกแต่งพิเศษตามควร
1.5 ไฟฟ้า พอเพียง มีสภาพดี ใช้งานได้ ไม่ชำรุด และไม่เป็นอันตราย
2. อุปกรณ์ประกอบและแนวทางพัฒนา
2.1 ห้องเรียนต้องมีสัญลักษณ์ของ 3 สถาบันของชาติ ได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.2 ห้องเรียนต้องมีอุปกรณ์ทำความสะอาดครบพร้อมอยู่เสมอ ได้แก่ ไม้กวาด ไม้ถู ที่ตักผง ถังขยะประจำห้อง และผ้าเช็ดถู
2.3 มีป้ายตารางเวรทำความสะอาด
2.4 มีป้ายทำเนียบกรรมการห้องเรียน
2.5 มีป้ายแสดงสถิติประจำวัน บริเวณหน้าห้องเรียน
2.6 ทีป้ายบอกห้องเรียน
2.7 มีการจัดบอร์ดประจำชั้น หมุนเวียนเปลี่ยนประจำวัน เป็นรายละเอียดหรือเนื่องในโอกาสพิเศษ หรือการจัดบอร์ดเชิงวิชาการ
2.8 ฝาผนังอาจติดภาพเชิงวิชาการ ภาพทิวทัศน์ หรือสุภาษิต คำพังเพยต่างๆ ตามที่เห็นว่าเหมาะสม
2.9 มีการตกแต่งทั่วไปอื่นๆ พอเหมาะพองาม

3. มาตรการความเป็นระเบียบและความสะอาด
3.1 โต๊ะเก้าอี้ ในสภาพปกติ ให้จัดแบบโต๊ะเดี่ยว เป็นระเบียบเป็นแถว ตรงกันทั้งทางขวางและทางลึก
3.2 ห้ามนักเรียนขีดเขียน ขูด โต๊ะเก้าอี้
3.3 ห้ามนักเรียนใส่กระดาษหรือสิ่งของอื่นๆ ในโต๊ะเรียน
3.4 ห้ามนักเรียนทิ้งหนังสือสมุดไว้ในโต๊ะเรียน ให้นำกลับบ้านทุกวัน
3.5 ห้ามนักเรียนรับประทานอาหารในห้องเรียน
3.6 ห้ามนักเรียนวิ่งเล่นหรือส่งเสียงดังในห้องเรียน

ขั้นตอนในการดำเนินการเมื่อได้รับการแต่งตั้งเป็นครูประจำชั้น

1. ขอทะเบียนนักเรียนและเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่นตารางสอน จากฝ่ายวิชาการ
2. เข้าพบนักเรียน แนะนำตัว และให้นักเรียนแนะนำตัวทั่วไป
3. ดำเนินการเลือกหัวหน้าชั้น รองหัวหน้าชั้น และกรรมการอื่นๆ ตามที่เห็นสมควร เช่น เลขานุการ
4. จัดเวรประจำวัน
5. ชี้แจงหน้าที่ของหัวหน้าชั้น รองหัวหน้าชั้น กรรมการ และเวรประจำวัน
6. วางระเบียบของห้องเรียน
งานของครูประจำชั้น

1. เข้าพบนักเรียน ในคาบโฮมรูม ดำเนินการเรื่องต่างๆดังนี้
- สำรวจการมาโรงเรียนของนักเรียน (ในกรณีนักเรียนไม่มาโรงเรียนเกิน 3 วัน ให้แจ้งหัวหน้าระดับชั้น)
- ตรวจการแต่งกาย ผม และความสะอาดของเครื่องแต่งกาย
- ตรวจความสะอาดของร่างกาย เช่น เล็บ ฟัน และความสะอาดทั่วไป
- ตรวจดูความเรียบร้อยและความพร้อมของอุปกรณ์การเรียนเป็นครั้งคราว
- ดูแลติดตามผลการปฏิบัติงานของเวรประจำวัน
- ดูแลสภาพห้องทั่วไป
- ให้การอบรม
- ชี้แจงเรื่องที่โรงเรียนประกาศหรือขอความร่วมมือ
- นัดหมาย
- บันทึกสมุดรายงานโฮมรูม เป็นปัจจุบัน
2. จัดทำเอกสารต่างๆ เช่น ทะเบียนนักเรียน สมุดประจำชั้น เป็นต้น
3. ทำคะแนนสมุดรายงานนักเรียนเป็นปัจจุบัน
4. ประสานงานกับฝ่ายแนะแนว เกี่ยวกับข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้อง
5. เยี่ยมบ้านนักเรียนประจำปี หรือกรณีที่นักเรียนมีปัญหา
6. การวางแผนและพัฒนาห้องเรียน
7. การสอนพิเศษ
8. การจัดกิจกรรมพิเศษในชั้นเรียน
9. สรุปรายงานการปฏิบัติงาน ปัญหาและข้อเสนอแนะ ตลอดปี เป็นต้น

หัวข้อเสนอแนะการอบรมนักเรียนในกิจกรรม “ โฮมรูม”

หัวข้อเสนอแนะการอบรมนักเรียนในกิจกรรม “ โฮมรูม” เสนอขึ้นมาเพื่อเป็นแนวทาง เพราะโรงเรียนเคยได้ยินมาบ้างเหมือนกันว่า ไม่รู้จะโฮมรูมไปทำไมกัน ไม่รู้จะพูดเรื่องอะไร
คงจะเป็นประโยชน์แก่ท่านบ้าง....................เรามาช่วยกันทำ................................

“ การอบรมบ่มนิสัยให้ศิษย์นั้น
เพียงแต่วันละนาทียังมีถม
ศิษย์จะดีมีชื่อหรือล่มจม
อาจเป็นเพราะอบรมหนึ่งนาที”
ม.ล. ปิ่น มาลากุล

1. ตรวจสอบการมาเรียนของนักเรียน
2. ชี้แจงนโยบาย ระเบียบ และข้อบังคับของโรงเรียนให้นักเรียนทราบ
3. ชี้แจงการจัดกิจกรรมทั้งในและนอกโรงเรียนที่นักเรียนมีส่วนร่วมให้ทราบล่วงหน้า
4. สัมภาษณ์นักเรียนอ่อนหรือเรียนไม่ทัน
5. ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับตัวนักเรียนเพื่อทำ Gase study
6. ให้ความรู้ทางด้านการเรียนการสอนต่อ การเลือกอาชีพ การเตรียมตัวไปประกอบอาชีพ
7. มารยาท
7.1 มารยาทในการเข้าพบผู้ใหญ่
- รอจังหวะเพื่อเข้าพบผู้ใหญ่
- การสำรวจมารยาท
7.2 มารยาทในการเยี่ยมไข้
- ขอเยี่ยมไข้
- การพูดคุย
7.3 มารยาทการให้สาธารณสมบัติ
- แบ่งกันใช้
- ช่วยกันรักษา
7.4 มารยาทในการเข้าประชุม
- การเลือกที่นั่ง
- การนั่ง
- การเข้าออกระหว่างประชุม
- การฟังและซักถาม
7.5 มารยาทในการใช้ห้องน้ำ
- การใช้ส้วมให้ถูกวิธี
- แต่งกายให้เรียบร้อยก่อนออกจากส้วม
- การรักษาความสะอาดบริเวณอ่างล้างมือ ห้องน้ำ
- ไม่ขีดเขียนห้องน้ำ ห้องส้วม
7.6 มารยาทในการเข้าใช้ห้องสมุด
- ไม่ส่งเสียงดังในห้องสมุด
- ปฏิบัติตามระเบียบของห้องสมุด
- ไม่นำอาหาร กระเป๋าหนังสือ เข้าห้องสมุด
- ยกและเก็บเก้าอี้ให้เรียบร้อย
7.7 มารยาทในการดูมหรสพ
- การแสดงอารมณ์
- การแสดงความไม่พอใจต่อการแสดง
- การใช้วาจาที่สุภาพ
- ไม่พูดคุยหัวเราะเสียงดัง
- ไม่รับประทานของขบเคี้ยว
- ไม่ทิ้งเศษผงหรืออาหารลงพื้น
- การแสดงความเคารพพระบรมฉายาลักษณ์
7.8 มารยาทในการดูกีฬา
- การเชียร์
- ไม่แย่งกันดู
- รู้แพ้ – รู้ชนะ
7.9 มารยาทในห้องเรียน
7.10 มารยาทในการรับประทานอาหาร
7.11 มารยาทในการพูดคุยกับครู - อาจารย์ และผู้ใหญ่
8. การแสดงความเคารพ
8.1 การแสดงความเคารพต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ
8.2 การไหว้พระภิกษุ และบุคคลทั่วไป
8.3 การกราบภิกษุสงฆ์ และบุคคลทั่วไป
8.4 การกราบศพ
8.5 การเคารพสถานที่
8.6 การเคารพผู้มีพระคุณ
9. การปลูกฝังค่านิยม
9.1 ความรักและความห่วงแหนในความมั่นคงปลอดภัย อิสรภาพ และเอกราชของชาติ
9.2 ความจงรักภักดี เคารพยึดมั่นถือมั่นด้วยศรัทธาอันบริสุทธิ์ใจ ต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
- การเทอดทูนชาติ การเคารพธงชาติ เพลงชาติ
- การเทอดทูนศาสนาพุทธ และศาสนาอื่นๆ
- การเทอดทูนพระมหากษัตริย์
9.3 ความเสื่อมใสในระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
9.4 ความซื่อสัตย์สุจริต และความบริสุทธิ์ใจ ในการกระทำต่างๆ
- ความรับผิดชอบ
- การตรงต่อเวลา
- การไม่ผิดนัด
- ไม่เป็นหน้าไหว้หลังหลอก
- ไม่ลอกการบ้าน
- ไม่ทุจริตในการสอบ
9.5 ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม รับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับหมอบหมาย
9.6 การมีวินัยในตนเอง เคารพในระเบียบ และกฏหมายของบ้านเมือง
9.7 ความภาคภูมิใจในวัฒนธรรม
- ศิลปะ วัฒนธรรม
- ภาษา ชีวิตความเป็นอยู่
9.8 ความสามัคคี
9.9 การเสียสละ
- การเสียสละ
- ความมีน้ำใจ
- ความรู้จักอดกลั้น
- การช่วยเหลือผู้อ่อนแอ
9.10 ความอดทน
9.11 ความมัธยัสถ์
- รู้จักใช้เงินให้คุ่มค่า
- รู้จักเลือกอ่านหนังสือ
- รู้จักถนอมและซ่อมแซมหนังสือ
- รู้จักอดออมและสะสมเงินฝากออมสิน
9.12 ความขยั่นมั่นเพียร
- ความขยัน
- ความพากเพียร
- ความกระตื้อรื้อร้น
- ความว่องไวในการทำงาน
9.13 การไม่เลือกงาน
- งานทุกชนิดมีเกียรติ
9.14 ความกตัญญูกตเวที
9.15 ความนิยมใช้ของไทย
- ผลดีของการใช้ของไทย
- ผลเสียของการนิยมใช้ของต่างประเทศ
9.16 ความซื่อสัตย์สุจริตต่อหลักวิชาการ
9.17 การประสานประโยชน์ เพื่อความรุ่งเรื่องของประเทศชาติ
10. การเคารพในเหตุผล การรับฟังเหตุผล
10.1 ยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น
10.2 เป็นผู้พูดและผู้ฟังที่ดี
11. ความเชื่อฟัง
11.1 เชื่อด้วยเหตุผล
11.2 การปฏิบัติตามสม่ำเสมอ
12. ความเกรงใจ
12.1 ไม่เหย้าแหย่เพื่อน
12.2 ไม่ทำเสียงดัง
12.3 การใช้ของผู้อื่น
12.4 การรับของแจก
13. การพึ่งตนเอง
14. การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
14.1 การทำงานอดิเรก
14.2 การฟัง
14.3 การอ่านหนังสือ
14.4 การดู
15. ความเมตตา
15.1 เมตตาต่อสัตว์
15.2 ให้กำลังใจแก่ผู้พลาดพลัง
15.3 การรู้จักให้อภัย
15.4 การช่วยเหลือผู้ได้รับทุกข์
16. ความกล้า
16.1 กล้าในสิ่งที่ควร
16.2 ความละอายต่อความชั่ว
16.3 กลัวในสิ่งที่ควรกลัว
16.4 สร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม
17. สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
18. ข้อควรระวัง
18.1 ในการเล่น
18.2 สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
18.3 อันตรายจากยาฆ่าแมลง
18.4 การใช้แก๊ส
18.5 การใช้เตารีดไฟฟ้า
18.6 การใช้ถุงพลาสติก
18.7 การใช้ผงซักฟอก
19 ภัยของวัยรุ่น
19.1 บุหรี่
19.2 ยาเสพติดร้ายแรงชนิดอื่นๆ
19.3 ยาเสพติดในรูปของยาดม หมากฝรั่ง ท๊อฟฟี
19.4 การใช้ยารักษาโรค
19.5 โทษของการพนัน
19.6 ภัยจากบุคคล สถานที่
19.7 การค้างคืนบ้านเพื่อน
19.8 การนั่งรถสองแถวคนเดียว
19.9 ความรักระหว่างเพศ
19.10 การหลีกเลี่ยงคนอันธพาล
19.11 การใช้จ่ายเงิน
20 งานที่นักเรียนต้องติดต่อกับแผนกทะเบียน แผนกธุรการ และวิธีปฏิบัติ

วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2553

บทกล่อมเด็ก

นกเขาขัน
นกเขาเอย ขันแต่เช้าไปจนเย็น ขันไปให้ดังแม่จะฟังเสียงเล่น เนื้อเย็นเจ้าคนเดียวเอย
--------------------------------------------------------------------
กาเหว่า
แม่นกกาเหว่าเอย ไข่ไว้ให้แม่กาฟัก แม่กาก็หลงรัก คิดว่าลูกในอุทร
คาบข้าวมาเผื่อ ไปคาบเหยื่อมาป้อน ปีกหางเจ้ายังอ่อน สอนร่อน สอนบิน
แม่กาพาไปกิน ที่ปากน้ำแม่คงคา ตีนเหยียบสาหร่าย ปากก็ไซ้หาปลา
กินกุ้ง กินกั้ง กินหอยกระพัง แมงดา กินแล้วบินมา จับต้นหว้า โพธิทอง
นายพรานเห็นเข้า เยี่ยมเยี่ยมมองมอง ยกปืนขึ้นส่อง หมายจ้องแม่กาดำ
ตัวหนึ่งว่าจะต้ม ตัวหนึ่งว่าจะยำ แม่กาตาดำ แสนระกำใจเอย
---------------------------------------------------------------------------------
วัดโบสถ์
วัดเอ๋ยวัดโบสถ์ มีต้นข้าวโพดสาลี
ลูกเขยตกยาก แม่ยายก็พรากเอาตัวหนี
ข้าวโพดสาลี ต่อแต่นี้จะโรยรา
--------------------------------------------------------------------
นอนไปเถิด
นอนไปเถิดแม่จะกล่อม นวลละม่อมแม่จะไกว
ทองคำแม่อย่าร่ำไห้ สายสุดใจเจ้าแม่เอย
--------------------------------------------------------------------
เจ้าเนื้อละมุน
เจ้าเนื้อละมุนเอย เจ้าเนื้ออุ่นเหมือนสำลี แม่มิให้ผู้ใดต้อง เนื้อเจ้าจะหมองศรี ทองดีเจ้าคนเดียวเอย
--------------------------------------------------------------------
เจ้าเนื้ออ่อน
เจ้าเนื้ออ่อนเอย อ้อนแม่จะกินนม
แม่จะอุ้มเจ้าออกชม กินนมแล้วนอนเปลเอย



เพลงกล่อมเด็ก นกกาเหว่า
โดย เด็กหญิงศุภศิริ พูลสมบัติ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒โรงเรียนอรุณเมธา

แม่นกกาเหว่าเอย ไข่ไว้ให้แม่กาฟัก แม่กาก็หลงรัก คิดว่าลูกในอุทร
ไปคาบข้าวมาเผื่อ ไปคาบเหยื่อมาป้อน ปีกหางเจ้ายังอ่อน ค่อยสอนร่อน สอนบิน
แม่กาพาไปกิน ที่ปากน้ำแม่คงคา ตีนเหยียบสาหร่าย ปากก็ไซ้หาปลา
กินกุ้ง กินกั้ง กินหอยกระพัง แมงดา กินแล้วบินมา จับต้นหว้า โพธิทอง
ยังมีนายพรานเห็น เข้าเยี่ยมเยี่ยมมองมอง ยกปืนขึ้นส่อง หมายจ้องแม่กาดำ
ตัวหนึ่งว่าจะต้ม ตัวหนึ่งว่าจะยำ กินนางแม่กาตาดำ ค่ำคืนนี้ แสนระกำใจเอย